ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
การประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

ขอบเขตและผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ



บริษัทพัฒนากระบวนการประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนทั้งในเชิงคุณภาพ และปริมาณ ส่งผลให้ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนมีความชัดเจนมากขึ้นตามกรอบการรายงาน GRI Standards และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) โดยบริษัททำการสำรวจ ผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน คู่ค้าและคู่ธุรกิจ เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล และชุมชน ด้วยการรวบรวมและจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของบริษัท ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในรูปแบบการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม เพื่อให้ทราบถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และนำมาวางแนวทางการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Matrix)
บริษัทได้คัดกรองประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนจากการสอบถามความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย และจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนในรูปแบบ Materiality Matrix ประจำปี 2567 ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท ดังนี้
ขั้นตอนการประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
1. การระบุประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
1. การระบุประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
- ศึกษาและพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่ธุรกิจทางการเงินระดับประเทศและระดับโลกให้ความสำคัญ
- ศึกษาและพิจารณาเทียบเคียงประเด็นด้านความยั่งยืนกับมาตรฐานและแนวโน้มด้านความยั่งยืนระดับประเทศและระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน (UN Sustainable Development Goals), GRI Standards, Sustainability Accounting Standards Board (SASB), Morgan Stanley Capital International (MSCI), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
- นำประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่ผ่านการกลั่นกรองจากหลักการข้างต้น ไปสอบถามความคิดเห็นของ ผู้มีส่วนได้เสียและตัวแทนของผู้มีส่วนได้เสีย แต่ละกลุ่ม เพื่อระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่ผู้มีส่วนได้เสีย และบริษัทคาดหวัง
2. การจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
- สำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท จำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน คู่ค้า และคู่ ธุรกิจ เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล และชุมชน โดยใช้แบบสอบถามการสำรวจประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท
- นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นมาประเมินวิเคราะห์และจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน ตามกระบวนการ ดังนี้
♦ ให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
♦ นำคะแนนจากผู้มีส่วนได้เสียมาวิเคราะห์และเรียงลำดับความสำคัญตามการถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) นำคะแนนของกลุ่มผู้มี ส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก มาจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนในรูปแบบ Materiality Matrix
3. การพิจารณาตรวจสอบประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
- รายงานผลการประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนต่อคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อ อนุมัติ และเปิดเผยต่อสาธารณะ
- สื่อสารและเผยแพร่ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทแก่ทุกสายงาน เพื่อนำไปกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
4. การพิจารณาทบทวนประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
- นำข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียจากแบบประเมินด้านความยั่งยืนมาพัฒนาการดำเนินงานของบริษัท
- พิจารณาทบทวนประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นทุก 2 ปี เพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันสอดคล้องตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Matrix)
บริษัทได้คัดกรองประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนจากการสอบถามความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย และจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนในรูปแบบ Materiality Matrix ประจำปี 2567 ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท ดังนี้

ขอบเขตและผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ


